บทความ

การกลับทางหมุนมอเตอร์ 3 เฟส

รูปภาพ
 การกลับทางหมุนมอเตอร์ 3 เฟส  จากรูปการต่อใช้งานมอเตอร์ 3 เฟส เมื่อจ่ายไฟให้กับมอเตอร์ L1 - U , L2 - V และ L3- W มอเตอร์ก็จะหมุน  ตามเข็มนาฬิกา ต่อไปเรามาดูวิธีกลับทางหมุนของมอเตอร์ โดย สลับสาย ดังรูปภาพจะสลับสาย L1-V และ L2-U มอเตอร์ก็จะหมุน  ทวนเข็มนาฬิกา จากรูปภาพ จะสลับสาย    L2-W และ L3-V  มอเตอร์ก็จะหมุน  ทวนเข็มนาฬิกา จากรูปภาพ จะสลับสาย   L1-W และ L3-U  มอเตอร์ก็จะหมุน  ทวนเข็มนาฬิกา มอเตอร์ 3 เฟส สามารถกลับทางหมุนได้โดย การกลับเฟสของสายไฟที่จ่ายให้กับมอเตอร์ จำนวน 2 สาย โดยสามารถที่จะกลับเฟสของสายคู่ใดก็ได้ ที่จ่ายให้กับมอเตอร์

การต่อใช้งานเครื่องตั้งเวลาอัตโนมัติ เปิด-ปิด หลอดไฟ

รูปภาพ
 เครื่องตั้งเวลาอัตโนมัติ  เครื่องตั้งเวลาอัตโนมัติ จะมีขั่วการต่อใช้งาน 4 ขั่ว หมายเลข 1 , 2 , 3 และ 4 ดังรูปภาพ จ่ายไฟให้เครื่องตั้งเวลา หมายเลข 1 และ หมายเลข 2 หมายเลข 1 จะเป็นสาย L หมายเลข 2 จะเป็นสาย N   ดังรูปภาพ ออกจากเครื่องตั้งเวลาไปหาหลอดไฟ หรือ อุปกรณ์ หมายเลข 3 และ หมายเลข 4 หมายเลข 3 จะเป็นสาย N หมายเลข 4 จะเป็นสาย L   ดังรูปภาพ จ่ายไฟเข้า หมายเลข 1 และ หมายเลข 2 ออกไปหาหลอดไฟ หรือ อุปกรณ์ หมายเลข 3 และ หมายเลข 4 และต่อไปมาต่อใช้งานเครื่องตั้งเวลาอัตโนมัติ เปิด-ปิด หลอดไฟ สาย L และ สาย N ออกจากเบรกเกอร์ย่อย จะมาเข้าเครื่องตั้งเวลาอัตโนมัติ ดังรูปภาพ ออกจากเครื่องตั้งเวลา หมายเลข 3 และ หมายเลข 4 จะมาเข้าหลอดไฟ  ดังรูปภาพ

การต่อใช้งานเต้ารับ

รูปภาพ
 การต่อใช้งานเต้ารับ ต่อสายไฟตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต เดินสายกราวด์ จากบัสบาร์กราวด์ ภายในตู้ Consumer Unit มายังเต้ารับ   ดังรูปก่อนครับ หลังจากนั้นจึงเดินสายนิวทรัล จากบัสบาร์ นิวทรัล มายังเต้ารับ  ดังรูปครับ และต่อมาเดินสาย L จากเบรกเกอร์ลูกย่อย  มายังเต้ารับ  ดังรูปครับ ตอนนี้เต้ารับเดี่ยวมีสายไฟอยู่ 3 เส้น ที่เดินมาจากตู้คอนซูมเมอร์  ด้านหลังของเต้ารับเดี่ยว  สายไฟที่เหมาะสมจะเป็นกับเต้ารับ สายทองแดงที่เป็นสายแกนเดี่ยว ตั้งแต่เบอร์ 1.5 ถึงเบอร์ 4 เท่านั้นครับ  เช่น เหมาะใช้งานกับสาย IEC01 และสาย VAF เป็นต้นครับ ไม่แนะนำให้ใช้กับสายทองแดงฝอย เช่น สาย VFF ครับ แถบวัดความยาวของสายทองแดง  สายสีน้ำตาลจะมาเข้าที่ขั่ว L ของเต้ารับ ดังรูปครับ หลังจากนั้น สายสีฟ้าจะมาเข้าที่ขั่ว N ของเต้ารับ ดังรูปครับ และต่อมา สายเขียว หรือ เขียวคาดเหลืองจะมาเข้าที่ขั่ว G ของเต้ารับ ดังรูปครับ รูเต้ารับด้านไฟเข้า ตามวงกลมสีแดง สำหรับต่อใช้งานเต้ารับ และ ตามวงกลมสีเหลืองสำหรับต่อไปหาเต้ารับอีกตัว หรือ สวิตช์  ดังรูปครับ

วิธีการต่อสายเมนไฟฟ้าจากมิเตอร์ของการไฟฟ้ามายังตู้ Consumer unit

รูปภาพ
  วิธีการต่อสายเมนไฟฟ้าจากมิเตอร์ของการไฟฟ้ามายังตู้ Consumer unit การเดินสายเฟส จะเดินสายจากขั้ว L ของมิเตอร์ไฟฟ้า มายังขั้ว L ของเมนเบรกเกอร์ภายในตู้ Consumer Unit ดังรูปก่อนครับ การเดินสายนิวทรัล จะเดินสายจากขั้ว N ของมิเตอร์ไฟฟ้า มายังบัสบาร์ กราวด์ ภายในตู้ Consumer Unit ดังรูปก่อนครับ หลังจากนั้นจึงเดินสายนิวทรัลจากบัสบาร์กราวด์ มายังขั้ว N ของเมนเบรกเกอร์         จึงจะถูกต้องตามกฎของการไฟฟ้าครับ เราจะไม่เดินสายนิวทรัลจากขั้ว N ที่มิเตอร์ไฟฟ้ามายังที่ขั้ว N ของเมนเบรกเกอร์โดยตรงเหมือนสายเฟสครับ เพราะจะไม่ถูกต้องตามกฎของการไฟฟ้าครับ ส่วนสายดิน จะเดินสายจากบัสบาร์กราวด์ มาเชื่อมต่อกับแท่งหลักดิน ซึ่งจะมีความยาว 2.40 เมตร โดยจะตอกแท่งหลักดินลงในดินครับ

การต่อใช้งานเฟสโปรเทคชั่น

รูปภาพ
  การต่อใช้งานเฟสโปรเทคชั่น   การต่อใช้งานเฟสโปรเทคชั่น 1 เฟส ควบคุมมอเตอร์ 1 เฟส การต่อใช้งานเฟสโปรเทคชั่น 1 เฟส ควบคุมมอเตอร์ 1 เฟส ต่อผ่าน  แมกเนติกคอนแทคเตอร์ การต่อใช้งานเฟสโปรเทคชั่น 3 เฟส ควบคุมมอเตอร์ 3 เฟส ต่อผ่าน  แมกเนติกคอนแทคเตอร์ คอยล์ 380 VAC การต่อใช้งานเฟสโปรเทคชั่น 3เฟส ควบคุมมอเตอร์ 3 เฟส ต่อผ่าน  แมกเนติกคอนแทคเตอร์ คอยล์ 220 VAC การต่อใช้งานเฟสโปรเทคชั่น 3เฟส ควบคุมมอเตอร์ 3 เฟส ต่อผ่าน  แมกเนติกคอนแทคเตอร์ คอยล์ 220 VAC การต่อใช้งานเฟสโปรเทคชั่น 3เฟส ควบคุมมอเตอร์ 3 เฟส ต่อผ่าน  แมกเนติกคอนแทคเตอร์ คอยล์ 380 VAC

อุปกรณ์ภายในตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต Consumer Unit

รูปภาพ
อุปกรณ์ภายในตู้คอนซูมเมอร์ ยูนิต  เมนเบรกเกอร์ RCBO ป้องกันกระแส ไฟฟ้าลัดวงจร    ป้องกันกระแส ไฟฟ้าเกิน    ป้องกัน ไฟดูด ไฟรั่ว มีปุ่ม Test การทำงานภายในตัว เบรกเกอร์ย่อย ป้องกันกระแส ไฟฟ้าลัดวงจร    ป้องกันกระแส ไฟฟ้าเกิน บัสบาร์กราวด์ บัสบาร์นิวทรัล