บทความ

การสตาร์ทมอเตอร์โดยตรง Direct On Line (DOL)

รูปภาพ
  การสตาร์ทมอเตอร์โดยตรง Direct On Line (DOL) Direct On Line (DOL) อุปกรณ์ที่ใช้ในการสตาร์ทมอเตอร์ การต่อวงจรการสตาร์ทมอเตอร์โดยตรง จ่ายไฟให้ด้านบนของ เบรกเกอร์เมน สาย L และ สาย N ดังรูป เดินสาย L ออกจากด้านล่างของ เบรกเกอร์ มาเข้าด้านบน ของฟิวส์ ดังรูปภาพ สาย L ออกจากด้านล่างของ ฟิวส์ ไปเข้าโอเวอร์โหลด หมายเลข 95 ดังรูปภาพ สาย L ออกจากโอเวอร์โหลด หมายเลข 96 จะไปเข้า พุทบัตตอน สต็อป ดังรูปภาพ สาย L ออกจากพุทบัตตอน สต็อป จะไปเข้าพุทบัตตอน สตาร์ท ดังรูปภาพ สาย L ออกจากพุทบัตตอน สตาร์ท จะไปเข้าคอยล์ของแมกเนติก A1ดังรูปภาพ ออกจากคอยล์ของแมกเนติก A2 จะไปเข้า ด้านล่างของเบรกเกอร์เมนสาย N ดังรูปภาพ ต่อไปจะมาต่อการค้างสถานะของแมกเนติกกันนะครับ  เอาหน้าคอนแทคช่วย หน้าคอนแทค NO ของแมกเนติกมาต่อคร่อม พุทบัตตอน สตาร์ท  ดังรูปภาพ ชมคลิปวิดีโอได้ทางยูทูป https://youtu.be/Ybn1xY0opzw

การต่อสายไฟตู้ Consumer Unit แบบบัสบาร์เดี่ยว ( ยี่ห้อ Schneider ระบบ Plug On )

รูปภาพ
 การต่อสายไฟตู้ Consumer Unit  การต่อสายไฟตู้ Consumer Unit ตามกฎของการไฟฟ้า  เมนเบรกเกอร์แบบกันไฟดูด RCBO จะมีการป้องกันกระแสลัดวงจร , ป้องกันการใช้กระแสเกิน ป้องกันกระแสไฟฟ้าดูด ไฟฟ้ารั่ว ครับ โดยจะมีการตัดการทำงานอย่างรวดเร็วภายใน 0.04 วินาที ครับ และมีปุ่ม Test ภายในตัวเบรกเกอร์ด้วย ครับ เบรกเกอร์ย่อย จะมีการป้องกันกระแสลัดวงจร , ป้องกันการใช้กระแสเกิน ซึ่งจะควบคุมวงจรย่อยต่างๆภายในบ้านของเรา เช่น วงจรแสงสว่าง , วงจรปลั๊ก , วงจรเครื่องปรับอากาศ และ วงจรเครื่องทำน้ำอุ่นเป็นต้น ครับ ส่วนถัดไปก็จะเป็นตำแหน่งของ บัสบาร์ กราวด์ ภายในตู้ ตำแหน่งของบัสบาร์นิวทรัล ภายในตู้ ส่วนประกอบ อุปกรณ์ภายในตู้ Consumer Unit วิธีการต่อสายเมนไฟฟ้าจากมิเตอร์ของการไฟฟ้า มายังตู้ Consumer unit เดินสายนิวทรัล จะเดินสายจากขั้ว N ของมิเตอร์ไฟฟ้า มายังบัสบาร์ กราวด์  ครับ  ดังรูปครับ และ สายนิวทรัล จากบัสบาร์ กราวด์  มายังขั้ว N ของเมนเบรกเกอร์ จึงจะถูกต้องตามกฎของการไฟฟ้า ครับ    ดังรูปครับ ต่อมาเดินสายเฟส จากขั้ว L ของมิเตอร์ไฟฟ้า มายังขั้ว L ของเมนเบรกเกอร์ภายในต...

การกลับทางหมุนมอเตอร์ 3 เฟส

รูปภาพ
 การกลับทางหมุนมอเตอร์ 3 เฟส  จากรูปการต่อใช้งานมอเตอร์ 3 เฟส เมื่อจ่ายไฟให้กับมอเตอร์ L1 - U , L2 - V และ L3- W มอเตอร์ก็จะหมุน  ตามเข็มนาฬิกา ต่อไปเรามาดูวิธีกลับทางหมุนของมอเตอร์ โดย สลับสาย ดังรูปภาพจะสลับสาย L1-V และ L2-U มอเตอร์ก็จะหมุน  ทวนเข็มนาฬิกา จากรูปภาพ จะสลับสาย    L2-W และ L3-V  มอเตอร์ก็จะหมุน  ทวนเข็มนาฬิกา จากรูปภาพ จะสลับสาย   L1-W และ L3-U  มอเตอร์ก็จะหมุน  ทวนเข็มนาฬิกา มอเตอร์ 3 เฟส สามารถกลับทางหมุนได้โดย การกลับเฟสของสายไฟที่จ่ายให้กับมอเตอร์ จำนวน 2 สาย โดยสามารถที่จะกลับเฟสของสายคู่ใดก็ได้ ที่จ่ายให้กับมอเตอร์

การต่อใช้งานเครื่องตั้งเวลาอัตโนมัติ เปิด-ปิด หลอดไฟ

รูปภาพ
 เครื่องตั้งเวลาอัตโนมัติ  เครื่องตั้งเวลาอัตโนมัติ จะมีขั่วการต่อใช้งาน 4 ขั่ว หมายเลข 1 , 2 , 3 และ 4 ดังรูปภาพ จ่ายไฟให้เครื่องตั้งเวลา หมายเลข 1 และ หมายเลข 2 หมายเลข 1 จะเป็นสาย L หมายเลข 2 จะเป็นสาย N   ดังรูปภาพ ออกจากเครื่องตั้งเวลาไปหาหลอดไฟ หรือ อุปกรณ์ หมายเลข 3 และ หมายเลข 4 หมายเลข 3 จะเป็นสาย N หมายเลข 4 จะเป็นสาย L   ดังรูปภาพ จ่ายไฟเข้า หมายเลข 1 และ หมายเลข 2 ออกไปหาหลอดไฟ หรือ อุปกรณ์ หมายเลข 3 และ หมายเลข 4 และต่อไปมาต่อใช้งานเครื่องตั้งเวลาอัตโนมัติ เปิด-ปิด หลอดไฟ สาย L และ สาย N ออกจากเบรกเกอร์ย่อย จะมาเข้าเครื่องตั้งเวลาอัตโนมัติ ดังรูปภาพ ออกจากเครื่องตั้งเวลา หมายเลข 3 และ หมายเลข 4 จะมาเข้าหลอดไฟ  ดังรูปภาพ

การต่อใช้งานเต้ารับ

รูปภาพ
 การต่อใช้งานเต้ารับ ต่อสายไฟตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต เดินสายกราวด์ จากบัสบาร์กราวด์ ภายในตู้ Consumer Unit มายังเต้ารับ   ดังรูปก่อนครับ หลังจากนั้นจึงเดินสายนิวทรัล จากบัสบาร์ นิวทรัล มายังเต้ารับ  ดังรูปครับ และต่อมาเดินสาย L จากเบรกเกอร์ลูกย่อย  มายังเต้ารับ  ดังรูปครับ ตอนนี้เต้ารับเดี่ยวมีสายไฟอยู่ 3 เส้น ที่เดินมาจากตู้คอนซูมเมอร์  ด้านหลังของเต้ารับเดี่ยว  สายไฟที่เหมาะสมจะเป็นกับเต้ารับ สายทองแดงที่เป็นสายแกนเดี่ยว ตั้งแต่เบอร์ 1.5 ถึงเบอร์ 4 เท่านั้นครับ  เช่น เหมาะใช้งานกับสาย IEC01 และสาย VAF เป็นต้นครับ ไม่แนะนำให้ใช้กับสายทองแดงฝอย เช่น สาย VFF ครับ แถบวัดความยาวของสายทองแดง  สายสีน้ำตาลจะมาเข้าที่ขั่ว L ของเต้ารับ ดังรูปครับ หลังจากนั้น สายสีฟ้าจะมาเข้าที่ขั่ว N ของเต้ารับ ดังรูปครับ และต่อมา สายเขียว หรือ เขียวคาดเหลืองจะมาเข้าที่ขั่ว G ของเต้ารับ ดังรูปครับ รูเต้ารับด้านไฟเข้า ตามวงกลมสีแดง สำหรับต่อใช้งานเต้ารับ และ ตามวงกลมสีเหลืองสำหรับต่อไปหาเต้ารับอีกตัว หรือ สวิตช์  ดังรูปครับ

วิธีการต่อสายเมนไฟฟ้าจากมิเตอร์ของการไฟฟ้ามายังตู้ Consumer unit

รูปภาพ
  วิธีการต่อสายเมนไฟฟ้าจากมิเตอร์ของการไฟฟ้ามายังตู้ Consumer unit การเดินสายเฟส จะเดินสายจากขั้ว L ของมิเตอร์ไฟฟ้า มายังขั้ว L ของเมนเบรกเกอร์ภายในตู้ Consumer Unit ดังรูปก่อนครับ การเดินสายนิวทรัล จะเดินสายจากขั้ว N ของมิเตอร์ไฟฟ้า มายังบัสบาร์ กราวด์ ภายในตู้ Consumer Unit ดังรูปก่อนครับ หลังจากนั้นจึงเดินสายนิวทรัลจากบัสบาร์กราวด์ มายังขั้ว N ของเมนเบรกเกอร์         จึงจะถูกต้องตามกฎของการไฟฟ้าครับ เราจะไม่เดินสายนิวทรัลจากขั้ว N ที่มิเตอร์ไฟฟ้ามายังที่ขั้ว N ของเมนเบรกเกอร์โดยตรงเหมือนสายเฟสครับ เพราะจะไม่ถูกต้องตามกฎของการไฟฟ้าครับ ส่วนสายดิน จะเดินสายจากบัสบาร์กราวด์ มาเชื่อมต่อกับแท่งหลักดิน ซึ่งจะมีความยาว 2.40 เมตร โดยจะตอกแท่งหลักดินลงในดินครับ